fbpx

วิธีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง

รู้หรือไม่ เบาหวานส่งผลต่อการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ จากที่ Dr.MDX เคยนำเรื่องราวของโรคเบาหวานและอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มาฝากคุณผู้ชายทุกคนกันมากแล้ว วันนี้ Dr.MDX จึงนำวิธีการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง สำหรับผู้ที่คิดว่าน้ำตาลในเลือดสูง เพื่อเป็นการป้องกันอาการเบาหวานกำเริบ และช่วยให้คุณสุภาพบุรุษห่างไกลจากอาการนกเขาไม่ขันอีกด้วย วิธีการตรวจเบาหวานด้วยตัวเองทำอย่างไรนั้น ตามไปดูพร้อมๆ กันเลยครับ

 

เครื่องตรวจระดับน้ำตาล สามารถหาซื้อได้จาก ร้านค้าในโรงพยาบาล และตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์แพทย์ทั้งใกล้โรงพยาบาล ถ้าไม่สะดวกอาจสั่งซื้อทางเว็บออนไลน์ที่มีความน่าเชื่อถือ

ขั้นตอนการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง

1. เตรียมความพร้อมและอุปกรณ์ ก่อนจะทำการตรวจสอบน้ำตาลในเลือดเราต้องตรวจเช็คความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนทุกครั้ง ซึ่งทำได้โดยการตรวจสอบวันหมดอายุของแถบตรวจ ตรวจรหัสเครื่อง โค้ดจะต้องตรงกับแถบตรวจ และปรับระดับเข็มของเครื่องเจาะให้เหมาะสมกับความหนาของผิว โดยก่อนเจาะทุกครั้งจะต้องล้างมือให้สะอาด ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ เช็ดบริเวณผิวหนัง และรอให้แห้ง

Tip: เพิ่มการไหลเวียนของเลือด โดยห้อยแขนที่จะเจาะ 10-15 วินาที อาจสลัดมือ หรือนวดคลึงนิ้วที่จะเจาะ

2. เปิดเครื่อง และเสียบแถบทดสอบน้ำตาล

3. การเจาะเลือด จะเจาะนิ้วใดก็ได้ แต่นิยมนิ้วกลางและนิ้วนาง โดยตำแหน่งที่เหมาะสม คือปลายนิ้วด้านข้าง ซึ่งจะเจ็บน้อยกว่าตรงกลาง เพราะมีเส้นประสาทน้อยกว่า

4. เช็ดเลือดหยดแรกออก จากนั้นบีบเบาๆ ให้ใช้เลือดหยดที่สองในการตรวจ หยดเลือดลงบนแถบทดสอบ ใช้สำลีแห้งกดให้เลือดหยดไหล

5. บันทึกผลตรวจเลือดลงบนสมุดบึนทึกทุกครั้ง เพื่อผู้ที่เป็นเบาหวานจะได้ปรับสมดุลของระดับน้ำตาล และขนาดของอินซูลิน

ควรเจาะเลือดตรวจน้ำตาลเวลาไหน

ในการเจาะเลือดตรวจน้ำตาลให้ได้ค่าที่ถูกต้องนั้นมีหลายวิธี และมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

เจาะเลือดตรวจน้ำตาลก่อนอาหาร และก่อนนอน เป็นการตรวจน้ำตาลตามมาตรฐาน

เจาะเลือดตรวจน้ำตาลหลังอาหาร 1-2 ชม.จะมีผู้ป่วยบางรายที่ระดับน้ำตาลตอนเช้าหรือก่อนอาหารปกติแต่มีระดับน้ำตาลหลังอาหารสูง ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนการรักษา

เจาะเลือดตรวจน้ำตาลเมื่อมีอาการผิดปกติ หรือเมื่อรู้สึกใจสั่นหน้ามืด เหงื่อออก เป็นลม ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ซึม จะต้องเจาะเลือดตรวจน้ำตาลเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดโดยทั่วไป แนะนำให้เจาะก่อนอาหาร

ที่มา: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, http://www.promotivecare.com/