ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน เป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ ที่ไม่ว่าผู้ชายคนไหนก็คงไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะทำให้สูญเสียความมั่นใจและส่งผลต่อบุคลิกภาพ ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงสาเหตุของอาการผมร่วงในผู้ชาย จะช่วยทำให้เราสามารถเตรียมพร้อมที่จะรับมือและหาทางป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งวันนี้ Dr.MDX ได้รวบรวมสาเหตุต่างๆที่ทำให้ผู้ชายแมนๆ อย่างเราผมร่วง ผมบาง มาฝากกันครับ
- กรรมพันธุ์ปัญหาศีรษะล้านของผู้ชายที่เกิดขึ้นจาก “กรรมพันธุ์” ส่วนใหญ่พบว่าจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างถาวร
- ฮอร์โมนปกติแล้วร่างกายของคนเราทั้ง ชาย และ หญิง จะมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) หรือ เรียกอีกอย่างว่า ฮอร์โมนเพศชายภายในร่างกายอยู่แล้ว ซึ่งแต่ละคนก็จะมีปริมาณฮอร์โมนชายในร่างกายที่แตกต่างกันออกไป แต่ในกระบวนการทำงานของร่างกายผู้ชายนั้น เทสโทสเตอโรนจะถูกสร้างขึ้นจากต่อมลูกหมากและอัณฑะ ผู้ชายจะมีการเปลี่ยนแปลงจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไปเป็นฮอร์โมนไดไฮโรเทสโทสเตอโรน (DHT) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเส้นผมของผู้ชาย ทำให้เส้นผมอ่อนแอ ไม่แข็งแรง หลุดร่วงง่าย การเกิดใหม่ของเส้นผมก็จะช้าลง หรือ แม้กระทั่งเส้นผมที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็จะเติบโตไม่เต็มที่ เส้นผมบางลงเรื่อยๆ จนกระทั่งรากผมไม่แข็งแรงจนไม่มีเส้นผมงอกขึ้นมาอีกเลย
- โรคภัยบางชนิดผู้ป่วยที่เป็นโรคบางอย่างจะมีผลกระทบของโรคที่แตกต่างกันออกไป โดยโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการผมร่วงได้ เช่น โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ โรคทางต่อมไทรอยด์ โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง โรคซิฟิลิส และโรคไต เป็นต้น
- ยาและการฉายรังสีมียาหลายประเภทที่ทำให้เกิดอาการผมร่วง เช่น ยารักษามะเร็ง ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ยาในกลุ่มลดความดัน ยาเกี่ยวกับฮอร์โมน ยารักษาโรคไทรอยด์ ยาป้องกันอาการชัก ซึ่งยาดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดอาการผมร่วงแบบฉับพลัน และเมื่อหยุดใช้ยา อาการผมร่วงก็จะหายไปได้เอง นอกจากนี้การฉายรังสีในการรักษามะเร็งหรือการใช้เคมีบำบัดก็เป็นสาเหตุที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการเกิดอาการผมร่วงได้เช่นกัน
- ความเครียดความเครียดจะส่งผลทำให้เกิดอาการผมร่วงได้ 2 ประเภท คือ
- Telogen Effluvium เป็นความเครียดชนิดรุนแรง ทำให้รากผมที่อยู่ในระยะการเจริญเติบโต (Growing phase) มีสภาวะพักการทำงานอย่างกะทันหัน ส่งผลให้เส้นผมร่วงในช่วง 2-3 เดือนแรก หลังจากนั้นประมาณ 6-9 เดือน เส้นผมจะเริ่มขึ้นมาตามปกติ
- Alopecia Areata เป็นอาการผมร่วงจากความเครียดที่รุนแรงกว่าประเภทแรก เม็ดเลือดขาวจะเข้าไปทำลายรูขุมขนบริเวณหนังศีรษะ ทำให้เส้นผมร่วงเยอะมากในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ เริ่มจากลักษณะวงกลมเล็กๆ แล้วขยายวงใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ กรณีนี้เส้นผมขึ้นมาเหมือนเดิมได้ แต่ในบางคนอาจจะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
- อายุเมื่อมีอายุที่มากขึ้นระบบการไหลเวียนของเลือดที่หล่อเลี้ยงอยู่บริเวณหนังศีรษะจะลดน้อยลง ทำให้รากผมมีการทำงานที่น้อยลง ประกอบกับความเสื่อมของเซลล์หนังศีรษะที่ทำให้รากผมหดตัว ส่งผลให้ขนาดและความยาวของเส้นผมเติบโตได้อย่างไม่เต็มที่เหมือนกับในช่วงวัยเจริญพันธ์
- การขาดสารอาหารเช่น วิตามิน B รวม ที่พบมากใน ยีสต์ และ โยเกิร์ต รวมไปถึงสารอาหารประเภทโปรตีน หากขาดสารอาหารเหล่านี้ จะก่อให้เกิดอาการผมร่วง ผมบาง ผมเปราะบาง อีกทั้งมีสีผมที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะสารอาหารเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม และ หากร่างกายได้รับวิตามิน A ที่มากเกินกว่าปกติ ก็จะส่งผลทำให้ผมงอกช้า มีอาการผมร่วงได้
- การจัดแต่งทรงผม การทำสีผม ดัดผม ไดร์ผม หรือแม้แต่การเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่ไม่เหมาะสมกับสภาพเส้นผมก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการผมร่วงจากหนังศีรษะอักเสบ หรือเส้นผมขาดเปราะหักง่ายได้เช่นกัน
เส้นผมและหนังศีรษะเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่สามารถช่วยสร้างเสริมบุคลิกภาพ และเสน่ห์ดึงดูดใจให้แก่ผู้เป็นเจ้าของได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การดูแลและเอาใจใส่ในสุขภาพเส้นผมจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้การดูแลส่วนอื่นๆของร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงในบางคนอาจจะดีขึ้นหรือสามารถหายได้เอง แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น ก็ควรที่จะรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที
ข้อมูลอ้างอิง